เรื่องและภาพ โดย  นุชนาถ เลิศสำโรง Citizen Reporter of The  Isaan Record
หมายเหตุ : สารคดีชิ้นนี้อยู่ในโครงการ Journalism that Build Bridges

 

ย้อนกลับไปเมื่อ 16 กันยายน 2565 อรรถชัย อาจอุดม หรือ บาส นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จะไม่ต้องเสี่ยงชีวิตเข้าช่วยนักเรียนหญิงที่ถูกไฟดูดขณะลุยน้ำท่วมออกจากโรงเรียน 

แม้ต่อมา “บาส” กลายเป็น “ฮีโร่”  เพราะสามารถช่วยเหลือนักเรียนหญิงคนนั้นสำเร็จ แต่ตัวเองก็ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารักษาตัวเองในโรงพยาบาล 

เมื่อปี 2565 มีเด็กนักเรียนชายและหญิงถูกไฟฟ้าดูดทั้งหมด  5 คน โดยเหตุเกิดบริเวณด้านหลังโรงเรียนสตรีราชินูทิศและบริเวณสี่แยกคอกม้า ถนนศรีชมชื่น 

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผู้คนต่างหวั่นวิตกและตั้งคำถามถึงการจัดการสายไฟในจังหวัดอุดรธานีและพื้นที่อื่นๆ 

ทัศนีย์ ใจซื่อ  ชาวจังหวัดอุดรธานี เป็นคนหนึ่งที่ติดตามสถานการณ์นั้นผ่านทางทีวีและโซเชียลมีเดียอย่างใกล้ชิด หลังทราบข่าวก็ทำให้รู้สึกตกใจ เพราะไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ภัยจะมาถึงตัว

“รู้สึกเศร้ามาก สงสารเด็ก ไม่รู้ว่าเกิดจากความบกพร่องของไฟฟ้าหรือเกิดจากอุบัติเหตุ”เธอตั้งคำถาม  

สายไฟรุงรังอยากให้ลงดิน

ในฐานะคนอุดรธานีที่ต้องอยู่ในพื้นที่เธอเสนอว่าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ควรจะป้องกันมากกว่านี้ 

“ไม่รู้ว่าไฟฟ้ารั่วตรงไหน แต่สำหรับประชาชนเวลาฝนตกก็จะต้องระมัดระวังตัวด้วยถ้าจะโทษแต่หน่วยงานไฟฟ้าอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ประชาชนก็ไม่มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ มีความรู้ก็ควรจะหาทางป้องกัน”เธอเสนอแนะ พร้อมกับหันมองไปบนเสาไฟฟ้าแล้วเห็นสายไฟรกรุกรังตามบ้านเรือนและท้องถนน

“สายไฟฟ้า รู้สึกรกรุงรัง ไม่รู้ว่าสายอะไรเป็นสายอะไรบ้าง ได้ยินข่าวมาว่า ผู้ว่าฯ มีแผนนโยบายจะนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินให้หมด แต่ไม่รู้จะทั้งจังหวัดอุดรธานีไหม”เธอกล่าวพร้อมกับถอนหายใจ


บริเวณหลังโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ซึ่งเป็นจุดที่เกิดเหตุไฟฟ้าดูดนักเรียนหญิง 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเสียงของประชาชนจำนวนมากที่ตอบแบบเดียวกัน ในเรื่องของความรัดกุมของหน่วยงานไฟฟ้า วิภาวรรณ นาคเสน ชาวจังหวัดอุดรธานีก็เป็นคนหนึ่งที่สะเทือนใจกับเหตุที่เกิดขึ้นเธอ ไม่ต้องการให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีกเพราะผลที่เกิดขึ้นเป็นอันตรายต่อเด็ก 

“การไฟฟ้าฯ น่าจะมีแนวทางรัดกุมให้มากกว่านี้”เป็นแนวทางที่เธออยากเห็นและกล่าวว่า “ 

“ไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงมีปัญหาในการจัดการไฟฟ้า ควรมีการตรวจสอบสายไฟรั่วหรือสายไฟว่า ขาดตรงไหน จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอย่างที่ไม่คาดคิดอีก”

เริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิต

เมื่อทีมข่าว The Isaan Record ลงพื้นที่สำรวจสายไฟ ในตัวเมืองจังหวัดอุดรธานีพบว่า  บางแห่งเสาไฟฟ้า ตั้งตรงดี สายไฟค่อนข้างเป็นระบบระเบียบเรียบร้อย แต่สายไฟฟ้าบนถนนบางเส้นก็ไม่เป็นระเบียบ 

มองเป็นเรื่องปกติ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถาพร แสนสนธิ นายช่างโยธาอาวุโส  ประจำเทศบาลนครอุดรธานี มองว่า ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อน เหตุการณ์เช่นนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นช่วงฤดูฝนที่จุดพื้นที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น

“ภัย คือ ฝนตก น้ำท่วม ถ้าฝนไม่ตกหนักหรือน้ำไม่ท่วมขังบนท้องถนน และสามารถระบายน้ำทัน คงจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น” นายช่างโยธาอาวุโส  หน่วยงานเทศบาลนครอุดรธานี ให้ความคิดเห็นกับเรื่องนี้

แต่ถึงกระนั้น  หน่วยงานภาครัฐก็ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตประชาชน โดยทางเทศบาลได้เริ่มสำรวจบริเวณเสาไฟฟ้าที่อยู่ตามจุดบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะเริ่มจากระดับพื้นที่ริมฟุตบาตรที่มีความต่ำ เส้นทางการระบายน้ำไหลไม่สะดวก น้ำท่วมขังพื้นที่ได้ง่าย และเสาไฟฟ้าที่ทำจากเหล็กเป็นหลักเพื่อหาทางป้องกันแก้ไขปัญหาภายในอนาคต 


สถาพร แสนสนธิ นายช่างโยธาอาวุโส หน่วยงานเทศบาลนครอุดรธานี

ติดตั้งระบบโซลาเซลล์แก้ปัญหาไฟดูด

นายช่างโยธา แนะนะว่า เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ควรจะตรวจสอบหาจุดสาเหตุ เช็คระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกเทศบาลนครอุดรธานีจึงติดตั้งระบบโซลาเซลล์แทนระบบไฟฟ้าบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงทั้งหมด ตั้งแต่หน้าถนนศรีชมชื่น ถนนศรีสุข 

“ปัจจุบันได้ติดตั้งระบบโซลาเซลล์เริ่มจากสถานศึกษาตรงบริเวณพื้นที่จุดเกิดเหตุและสถานศึกษาที่สังกัดในเขตเทศบาลนครอุดรธานีมาได้แล้ว 10 %”สถาพร กล่าว 


เทศบาลนครอุบลธานีได้เปลี่ยนจากระบบกระแสไฟฟ้ามาเป็นระบบโซลาเซลล์

ไม่เพียงเปลี่ยนระบบกระแสไฟฟ้า แต่ทางหน่วยงานเทศบาลนครอุดรธานี ได้นำสติ๊กเกอร์สีเหลืองขนาดใหญ่พอสมควร มาติดตรงจุดบริเวณเสาไฟฟ้าระบบโซลาเซลล์ มีข้อความที่เน้นเตือน ประชาชน ด้วยตัวอักษรที่หนา ตัวโต เห็นเด่นชัด มีทั้งข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า “กรณีน้ำท่วม อันตรายห้ามเข้าใกล้  BEWARE ELECTRICITY”


เสาไฟฟ้าบริเวณด้านหลังโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ซึ่งอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุไฟฟ้าดูดนักเรียน หลังเกิดเหตุการไฟฟ้าฯ ได้ที่เปลี่ยนเป็นระบบโซลาเซลล์และมีสติ๊กเกอร์แสดงข้อความว่า มีน้ำท่วม ไม่ให้เข้าใกล้ 

“ทางเทศบาลฯ ได้ติดสติ๊กเกอร์ไว้ตรงบริเวณเสาไฟฟ้า เพื่อบอกให้ประชาชนรับรู้ว่า อย่าเข้าใกล้ เพราะอาจจะมีอันตรายเพื่อให้กับประชาชนที่ไม่รู้ ไม่ให้ไปสัมผัสหรืออยู่ใกล้บริเวณตรงจุดนั้น”

ในฐานะหน่วยงานรายชการเขายังเสนอว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในอนาคตหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบและพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยการนำไฟฟ้าลงใต้ดิน โดยเฉพาะบริเวณถนนโพศรีที่เกิดเหตุบ่อยครั้ง ปากกาวัดไฟ อุปกรณ์ช่วยชีวิตเบื้องต้น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผศ.ดร.สมชาย สิริพัฒนากุล อาจารย์สาขา วิศวกรรมความปลอดภัยทางไฟฟ้าและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ให้ความสำคัญในเรื่องนี้และเสนอว่า เพื่อป้องกันอันตรายเมื่อมีน้ำท่วมอยากให้ประชาชนพกปากกาวัดไฟ เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า 

“ปากกาวัดไฟอาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ประชาชนควรจะให้ความสนใจและพกติดตัวไปได้ทุกที่ตลอดเวลา เพราะจะเป็นการช่วยเซฟชีวิตตัวเองเบื้องต้นได้”นักวิชาการให้คำแนะนำ


ผศ.รศ.สมชาย  สิริพัฒนากุล อาจารย์ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยทางไฟฟ้าเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 

สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

นักวิชาการคนนี้ยังได้ฝากให้ข้อคิดแก่ประชาชนเพิ่มเติมในเรื่องที่ไม่ควรจะมองข้าม โดยเฉพาะเรื่องระบบไฟฟ้าที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนประมาท

“ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรือน ควรจะให้ช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญในการมาติดตั้งเดินระบบและถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าพวกตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ก็ควรจะมีการระบบสายดินเพื่อเชฟความปลอดภัย”ผศ.รศ. สมชาย แนะนำ

ไฟฟ้าดูดจึงถือเป็นภัยใกล้ตัวที่เกิดขี้นทุกปี ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ มีผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟดูดสูงถึง 184 ราย ในช่วงเวลาประมาณ 45 วัน 

ทุกครั้งที่มีเหตุน้ำท่วมหลังจากนั้นจึงมีผู้เสียชีวิตทุกปี ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่มาพร้อมกับหน้าฝน

เกี่ยวกับผู้เขียน

เนื้อหาล่าสุด