Latest Post

Lanner • 7 มี.ค. 2566
ในขณะที่สังคมทุนนิยมดัดจริตยังคงหมุนเวียน ผู้เขียนเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับโลกของคนไร้บ้านรวมไปถึงเรื่องของภาวะซึมเศร้า ใคร่สงสัยอยากรู้ว่าเขาจะออกจากภวังค์เหล่านี้ได้อย่างไรกัน หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงสวัสดิการในการเยียวยารักษาจากทางภาครัฐก็ตาม แน่นอนว่าหากทิ้งระยะเป็นเวลานาน ภาวะซึมเศร้าก็สามารถเป็น โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นแล้ว ‘โรคซึมเศร้า’ จึงไม่ได้เพียงแต่เป็นเฉพาะแค่ในหมู่ชนชั้นกลาง แต่มันเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่มในสังคม
Lanner • 3 มี.ค. 2566
ตั้งแต่ปี 2563 การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ปรากฎเป็นประจักษ์ขึ้นว่าประเทศไทยอาจไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เริ่มจากพรรคอนาคตใหม่ถูกคำสั่งยุบพรรค รวมทั้งปัญหาของรัฐบาลประยุทธ์ที่ไม่สามารถจัดการกับวิกฤต Covid-19 ได้อย่างที่ควรจะเป็น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมและป้องกันโรค Covid-19 ของรัฐบาลก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเหลื่อมล้ำชัดเจนขึ้นในทุกมุมเมือง จนนำไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย การขับไล่รัฐบาลที่เป็นมรดกของการรัฐประหาร การแก้รัฐธรรมนูญประชาชน และข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สุ้มเสียงของการตบเท้าก้าวออกมาเคลื่อนไหวของเยาวชนคนรุ่นใหม่จากทั่วทั้งแดนดินทั่วประเทศ ได้ปะทุขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประชาไท • 28 ก.พ. 2566
Dot easterners ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน จังหวัดชลบุรี และ ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน ในประเด็นความเปลี่ยนไปของบ้านอ่าวอุดม ไล่เรียงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Lanner • 26 ก.พ. 2566
การหลอมรวมรัฐในพื้นที่ดินแดนล้านนากำลังก่อตัวขึ้น เป้าหมายสำคัญที่สุดของรัฐสยาม คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่าเป็นการสร้าง “ความเป็นไทย” หากแต่ตอนนั้นสยามยังมีมุมมองต่อล้านนาในลักษณะเป็นอื่น เหตุเพราะไม่มีความใกล้ชิดผูกพัน อีกทั้งสื่อสารกันด้วยภาษาที่ไม่เข้าใจ และลึก ๆ นั้น ยังมองล้านนาเป็นคนที่แตกต่าง ไม่เหมือนกับสยาม ดังนั้นการที่จะเข้ามาปกครองพื้นที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการควบคุมในทุกด้าน รวมไปถึงการบังคับให้เข้าโรงเรียนสอนหนังสือไทย และสื่อสารด้วยภาษาไทย โดยท้ายที่สุดแล้วก็เพื่อเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างสำนึกร่วม สลัดทิ้ง “ความเป็นอื่น”
ประชาไท • 20 ก.พ. 2566
โดย: ชาลินี ทองยศ คุยกับ “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ย้อนรอยเส้นทางนักเคลื่อนไหว จากเดินตามพ่อไปลงพื้นที่สู่การโบกรถเข้าหาความอยุติธรรม ในช่วงชีวิตที่ติดคุกเป็นว่าเล่นจากคดีการเมือง อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขายังไม่เข็ดหลาบหรือขลาดกลัว
ประชาไท • 20 ก.พ. 2566
“ถ้าเราได้ประชาธิปไตยในทางการเมือง แต่ต้องกลับไปทำงานในบริษัทที่เป็นเผด็จการมันจะมีประโยชน์อะไร” นี่เป็นคำถามง่ายๆ ที่ผุดขึ้นมาสะกิดใจ ‘ฉัตรชัย พุ่มพวง’ หรือแชมป์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ “พูด” ส่งผลให้เขาผลักดันประเด็นประชาธิปไตยในที่ทำงาน และการบริหารองค์กรแบบสหกรณ์ (Worker Cooperative) ที่ทุกคนในที่ทำงานต่างเป็นเจ้าของร่วมกัน
ประชาไท • 20 ก.พ. 2566
ทวีป กาญจนวงศ์ และ ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา อดีตคนเดือนตุลาที่มีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและขบวนการแรงงาน กล่าวตรงกันว่าต้องมีการรวมตัวกันของคนส่วนใหญ่เป็นขบวนการแรงงานเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตที่่ดี
Lanner • 17 ก.พ. 2566
‘ช้างม่อย’ ชื่อถนนที่คุ้นหูสำหรับนักท่องเที่ยว จากชุมชนเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ สู่ชุมชนการค้าและถนนศูนย์รวมกิจการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ถนนเส้นดังกล่าวเปรียบเสมือนประตูเชื่อมผู้คนไปสู่กาดหลวง ตลาดขนาดใหญ่อายุมากกว่า 100 ปี จึงทำให้ถนนเส้นนี้มีรถผ่านไปมาอย่างไม่ขาดสาย สองข้างทางต่างเต็มไปด้วยอาคารที่พัก ร้านค้า อาคารแบบยุโรป อาคารเรือนไม้และเรือนแถว โรงแรม หรือแม้กระทั่งแหล่งบันเทิง ซึ่งยังคงเอกลักษณ์โครงสร้างอาคารเดิมที่ยืนหยัดบอกเล่าเรื่องราวจากอดีตส่งต่อมาถึงปัจจุบัน
Lanner • 15 ก.พ. 2566
“ครู” อาชีพที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ถ้าให้ขยายความหมายของครู ครูคือผู้ที่มีหน้าที่ความสามารถในคำแนะนำฝึกสอนให้วิชาความรู้ทางการเรียน หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติให้กับนักเรียน  นักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน อีกความหมายในเชิงคุณค่านั้น ครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม แม้จะมีความหมายที่ดูลึกซึ้งคมคาย แต่ปัจจุบันนี้เองครูไม่ได้เพียงแค่สอนหนังสืออยู่หน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ผู้ปกครอง และสังคมอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสังคมไทยค่อนข้างให้คุณค่าและให้ความสำคัญกับวิชาชีพครูมาก เพราะว่าเป็นอาชีพที่ต้องบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าอย่างนักเรียน ให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่และเป็นพลเมืองของประเทศในอนาคต
ประชาไท • 11 ก.พ. 2566
ชวนมาดูมุมมองของ “ผู้ใหญ่” จากองค์กรและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนต่อนโยบายของรัฐ
ประชาไท • 11 ก.พ. 2566
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ความทรงจำและมรดกของคณะราษฎร ยังคงถูกรัฐและผู้มีอำนาจพยายามลบทิ้งอย่างต่อเนื่อง และมรดกชิ้นสำคัญคงหนีไม่พ้น หมุดคณะราษฎร ที่ถูกลบหายไปและแทนที่ด้วยหมุดใหม่อย่างปริศนา
เดอะอีสานเรคคอร์ด • 8 ก.พ. 2566
ถ้าโควิดไม่มาเยือน “สมร พมรลี” แม่ค้าชาวขอนแก่น คงไม่สูญเสียอาชีพการขายของบนรถไฟไป ทั้งที่อยู่กับอาชีพนี้เกือบชีวิต แต่เมื่อการรถไฟไม่ให้ขาย เธอที่เป็นเสาหลักครอบครัวที่เลี้ยงหลายชีวิตจึงจำเป็นต้องดิ้นรนให้อยู่รอดด้วยการหาบเร่ช่วงกลางคืน ซึ่งมีคู่แข่งน้อยกว่าและร้องเพลงเป็นของแถมให้ลูกค้า
Subscribe to