หนังสือ “วารสารศาสตร์ที่สร้างสะพาน คู่มือนักข่าวนักข่าวพลเมืองฉบับพกพา” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวารสารศาสตร์เพื่อการสร้างสะพาน (Journalism that Builds Bridges) ที่ต้องการผนึกกำลังสื่อชายขอบหรือภูมิภาคที่เป็นสื่อทางเลือกด้วยการเชื่อมสัมพันธ์กันผ่าน “สะพาน” เพราะเรื่องราวของคนชายขอบมักถูกหลงลืมจากสื่อส่วนกลางจนไม่เกิดการแก้ไขปัญหา ดังนั้นสื่อต้องช่วยกันส่งเสียงให้ดังขึ้น
Latest Post
‘ไม่ใช่พระอิฐพระปูน’ เป็นการนำเสนอบทบาทของพระสงฆ์ที่วัดหาดสวนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลายเป็นที่พึ่งสำหรับประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2565 โดยเฉพาะครอบครัวที่อยู่ริมน้ำมูล วัดเป็นที่พึ่งแรกและที่พึ่งสุดท้ายของพวกเขา
ชั่วชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง จะต้องมีค่าใช้จ่ายกว่าเกือบห้าสิบปี ไม่ว่าเงินนั้นจะจำเป็นหรือไม่ แต่ถ้ามีประจำเดือนแล้วเงินส่วนนั้นก็ต้องใช้เลือกมาเป็นอันดับแรกในทันที จะดีกว่าไหม ถ้ามีสวัสดิการที่เข้าถึงได้ หวังว่าเราทุกคน จะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับชีวิตมากเกินความจำเป็น
ขยะกับชุมชนน้ำท่วม สิ่งที่มักมาคู่กันอยู่เสมอ ชุมชนหาดสวนสุข ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำมูล มีสมาชิกกว่า 200 ครอบครัว ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง และบางส่วนเก็บขยะหรือของเก่าขาย
จากสถานการณ์นํ้าท่วมจังหวัดอุบลราชธานี 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อำเภอวารินชำราบกว่า 2,000 ครัวเรือน เป็นผลกระทบที่รุนแรงที่สุดในรอบ 43 ปี และระดับนํ้าสูงกว่าวิกฤติน้ำท่วมครั้งล่าสุดในปี 2562 เป็นอย่างมาก
กิจกรรมปาร์ตี้หมากคงเป็นสิ่งเดียวที่พอจะยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้สูงอายุบางกลุ่มไว้ได้ ถึงแม้ในปัจจุบันการเคี้ยวหมากจะไม่ได้รับความนิยมจากคนหนุ่มสาวแล้วก็ตาม เพราะด้วยสาเหตุทางช่องปากที่อาจถูกมองว่าสกปรก อีกทั้งการเคี้ยวหมากยังทำให้ฟันดำ แต่สำหรับคนวัยนี้แล้ว ‘หมาก’ คงพอจะทำให้หายเบื่อจากการต้องอยู่บ้านเพียงลำพังได้ไม่น้อย
ปลาร้า หรือ ปลาแดก ถือเป็นอาหารท้องถิ่นที่อยู่คู่คนอีสานมายาวนาน เป็นเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้กับอาหาร อีกทั้งยังเป็นวิถีที่ชีวิตที่ได้รับการสืบทอดต่อมากมาจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สอดแรกไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย
ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจเดลิเวอรี่ที่ดุเดือด รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากการเดินไปซื้อของ เปลี่ยนแปลงไปเป็นการหยิบโทรศัพท์มือถือเปิด Application แล้วสั่งของที่ต้องการ ไม่กี่นาทีก็ได้ของที่ต้องการแล้ว
แต่ในการแข่งขันที่อาจจะผูกขาดอยู่กับไม่กี่เจ้าใหญ่ไม่กี่สี ที่ต่างงัดความดีเด็ดออกมามัดใจผู้ใช้บริการอย่างไม่หยุดยั้ง ในสนามที่เดือดระอุนี้ ยังคงมีบริการเดลิเวอรี่ขนาดเล็กที่ใจใหญ่ไม่แพ้ใคร
‘Karen Man’ เป็นธุรกิจขนาดเล็กในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แม้จะขนาดเล็กแต่ก็มีบริการสารพัดอย่างที่ไม่เล็กตามขนาด ตั้งแต่การซื้ออาหารของกินของใช้ รวมไปถึงบริการจ่ายบิลและส่งของ โดยมี Motto เท่ ๆ ที่กินใจ ว่า “ให้บริการเสมือนคุณมาซื้อของเอง ด้วยราคาที่คุณอยู่ได้ เราก็อยู่ได้”
“เราเป็นกลุ่มนักศึกษานิติศาสตร์ที่มีเป้าหมายร่วมบางอย่าง ภาพที่เราเห็นคือนักศึกษากฎหมายก็นั่งอ่านประมวล ด่ากฎหมายบ้าง แต่ไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไรเสียที เลยอยากขยายพรมแดนการศึกษา บุคลากรทางคณะเรามีประสิทธิภาพมาก เราอยากขยับเส้นของวงวิชาการให้เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งนักวิชาการ นักศึกษา อยากทำให้การเข้าถึงความรู้มันง่ายขึ้น ไม่เป็นการผูกขาดความรู้ ผ่านการเรียนรู้สังคม (Law in action) มิใช่เรียนรู้แค่ตัวหนังสือ (Law in book) รวมถึงสร้างคุณค่าของกฎหมายเพื่อเปิดมุมมองการศึกษากฎหมายนอกจากนิติศาสตร์กระแสหลัก”
ในยุคที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พร้อมกับโซเชียลมีเดียที่พร้อมจะล่อตาล่อใจผู้คนอยู่เสมอ ยุคที่เราเรียกกันว่า ‘บริโภคนิยม’ ต้องตามเทรนด์ให้ทันอยู่เสมอและมีทุกอย่างที่เป็นกระแสรวมไว้ในครอบครอง รวมไปถึงแฟชั่นด้วย ในปัจจุบัน เทรนด์แฟชั่นมีความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วนั้นส่งผลกระทบมากมายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าเป็นการกดขี่แรงงาน มลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานสิ่งทอ ขยะเสื้อผ้ามากมายจนกลายเป็นภูเขาจากเทรนด์ที่ล้าหลังซึ่งส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่รวมไปถึงโลกทั้งใบ
การแต่งตัวตามสมัยนิยมนั้นเป็นความสวยงามในรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ‘แฟชั่น’ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงเสื้อผ้าที่ทำได้ง่าย ไม่ว่าจะผ่านอินเตอร์เน็ตและราคาที่ไม่สูงมาก กระแสและวัฒนธรรม ‘ฟาสต์แฟชั่น’ จึงเกิดขึ้นในสังคม
ภาพของเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ที่คุ้นตาชาวแม่เมาะที่ถูกขุดอยู่ทุกวันเพื่อนำถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนทั้งประเทศใช้ พื้นที่เหมืองแม่เมาะยังถูกทำให้เป็นพื้นที่สวยงามที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชมความยิ่งใหญ่สวยงามของเหมืองแม่เมาะ
แต่เมื่อมองภาพให้ลึกลงไปในภาพสวยงามเหล่านี้มีอะไรที่เรามองผ่านเลยไปอยู่หรือเปล่า?
ชาวนาในภาพจำของคุณเป็นอย่างไร? เกษตรกรผู้มีความสุขจากการปลูกข้าว ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายอยู่ตามชนบท เพราะไม่ต้องดิ้นรนเข้ามาหางานทำในตัวเมืองใหญ่อันแสนวุ่นวาย หรือเป็นภาพของคุณลุงที่กำลังเดินจูงควายไปไถนาในยามเช้าหรือไม่